วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

Iris Card คืออะไร มาทำความเข้าใจกันเบื้องต้นดีกว่า

IRIS System

ระบบใหม่มาแล้ว! หลังการเปลี่ยนแปลงต่างๆนานาในโลกอันเต็มไปด้วยความลับนานับประการ
ดินแดนใหม่ เวทีการต่อสู้แห่งใหม่ เมืองใหม่ บอสใหม่ สงครามครั้งใหม่ และในที่สุดมันก็มาถึงระบบใหม่เสียที

รูปภาพ

Effect of Iris card

- พื้นฐานของ Iris card 
หน้าตาของมันเป็นแบบนี้ 
รูปภาพ

ซึ่งวิธีที่จะได้มันมานั้นมีอยู่หลากหลายได้แก่ ตกจากมอนสเตอร์, ซื้อจาก NPC, และซื้อจาก แคช
การเจาะรู สร้าง ประกอบและใช้งานนั้นเป็นอะไรที่ซับซ้อน ซึ่งเราจะกล่าวถึงพร้อมๆกับเควสเริ่มต้นในส่วน III.
ดังนั้นตอนนี้เรามาพูดถึงความสามารถหลักๆของมันก่อนดีกว่า

มี 4 ชุดคำที่ควร(ต้อง)รู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของ Iris card ซึ่งศัพท์จะใกล้ๆกันและอาจทำให้งงได้ เวลาดูระวังๆนะครับ
4 คำที่ว่ามีดังนี้
1. ผลที่การ์ดกระทำต่อผู้ใช้ มีสองกลุ่มคือ กลุ่มเพิ่มความสามารถ (Ability Vector: AV) / กลุ่มแก้ไขพลังธาตุ (Element Correction: EC)
2. ค่าเลขพลังของการ์ด มีสองกลุ่มซึ่งบอกแต่ละกลุ่มในข้อ 1. ได้แก่ ค่าเวกเตอร์ (Vector) / ค่าแก้ไขพลังธาตุ (Element Value Correction: EVC)
3. ความสามารถที่การ์ดแสดงออกมา เรียกว่าผลปลดปล่อยความความสามารถ (Release Ability: RA) ส่งผลมาจาก AV ในข้อ 1. (ของธาตุไม่มีส่วนนี้)
4. ระดับค่าพลังของการ์ด มีสองอย่างเช่นกัน แจกแจงตามข้อ 1. ได้แก่ระดับการปลดปล่อย (Releasibility Level: RLv)/ ระดับพลังธาตุ (Elemental Level: ELv)


- Iris card ทำอะไรได้บ้าง?

เมื่อเราได้ Iris card ที่พร้อมใช้งานแล้วใบหนึ่งมา เมื่อคลิกดูข้อมูลไอเท็มในช่อง "ต่อสู้" จะพบหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ


การทำงานของการ์ด
การ์ดแต่ละใบจะมีส่วนที่การ์ดกระทำต่อผู้ใช้สองกลุ่มอย่างที่กล่าวไปแล้ว โดยส่วนบนเป็น กลุ่มแก้ไขพลังธาตุ (Element Correction: EC)
และส่วนล่างนั้นคือ กลุ่มเพิ่มความสามารถ (Ability Vector: AV)
กลุ่มแก้ไขพลังธาตุ (Element Correction: EC)
กลุ่มค่า EC นั้นจะส่งผลกระทบต่อเราทั้งเรื่อง Attack(เพิ่มผลการโจมตี) และ Defense(ป้องกันการโจมตี)
ซึ่งจะขึ้นกับว่าเรานำการ์ดใบนี้ไปยัดไว้ในส่วนใด ถ้าเป็น "อาวุธ" มันจะเข้าไปเป็น Attack แต่ถ้าใส่ "เครื่องป้องกัน/acc" มันจะไปเป็น Defense ให้กับเรา
และแน่นอนว่าเมื่อใส่การ์ดครบทั้งสามส่วนพวกมันก็จะส่งผลให้เราทั้งป้องกันและโจมตีไปพร้อมกัันนั่นเอง
#[สำคัญ!] ทั้งการโจมตี (Attack) และป้องกัน (Defense) แบบมีธาตุนั้น แต่เดิมมีเพียงไม่กี่อาชีพเท่านั้นที่ได้สัมผัสและมักไม่มีผลรุนแรงจนต้องพิจารณาเป็นเรื่องสำคัญ
แ่ต่ใน Extra update: Iris นี้ ระบบธาตุมีการ ปรับปรุงขนานใหญ่ (หัวข้อ IV) ซึ่งเมื่อผนวกรวมกัน Iris card ไปแล้ว "ทุกอาชีพ" จะได้สัมผัสกับระบบธาตุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งเราจะมาดูกันต่อไปครับ
- ตรวจสอบค่าธาตุประจำตัวละคร?

เริ่มจากการเปิด window status สำหรับตั้งแต่ Iris update เป็นต้นไปมันจะมีช่อง element เพิ่มมาให้
ซึ่งมันจะบอกว่าเราได้ผลอะไรจาก Iris card ที่ใส่ไปแล้วบ้าง


จาก รูปจะเห็นว่าในส่วนของการปรับธาตุ นั้นจะบอกตัวเลขให้กับธาตุต่างๆเอาไ้ว้ พวกมันทำอะไรได้? และส่งผลยังไง? จะกล่าวต่อไปครับ
บรรทัดบนนั้นเป็นค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการโจมตี (Elemental attack correction: EAC)
ส่วนบรรทัดล่างเป็นค่าการแก้ไขพลังธาตุด้านการป้องกัน (Elemental defensive correction: EDC) ซึ่งสองอย่างนี้จะแตกต่างกันพอดู
ค่าการแก้ไขพลังธาตุด้านการโจมตี (Elemental attack correction: EAC) 
ในส่วนของบรรทัดบนนั้น ผลของมันคือเข้าไป เสริม พลังธาตุให้ักับการโจมตีของตัวละคร
ตัวอย่าง ดูจากตารางตัวอย่างด้านล่าง จะพบว่า...








- ค่าของผลบวกพลังธาตุสามารถมีได้มากกว่า 1 ค่า แต่ตัวระบบจะทำการ เลือก ค่าที่สูงที่สุดเ่ท่านั้นเป็น "ค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการโจมตี (Elemental attack correction: EAC)" ให้กับตัวละคร
# กรณีที่ค่าผลบวกพลังธาตุแบบในตารางมีค่าสูงสุดมากกว่า 1 ค่า ทางระบบจะ เลือก ตัวที่อยู่ทาง ซ้ายสุด เป็น EAC

- EAC ประจำตัวละครจะส่งผลไปยังสองสิ่ง 
=== 1. สกิลการโจมตีกายภาพทุกประเภท จะมีธาตุอันขึ้นอยู่กับ EAC และตัวเลขของธาตุนั้นจะเรียกว่า ค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการโจมตี (Element Value Correction(Attack): atkEVC) ซึ่งจะนำไปคำนวณความเสียหายในระบบธาตุต่อไป
=== 2. สกิลเวทมนตร์ที่ มี ธาตุตรงกับ EAC จะได้รับผลโดยเพิ่มเลขค่าแก้ไขพลังธาุตุ(EVC) เข้าไป ไม่ว่าสกิลนั้นจะเป็นธาตุเดียวหรือหลายธาตุ ขอให้มีธาตุที่ตรงกับ EAC อยู่เป็นใช้ได้
# ดังนั้นจะพบว่าเหลืออยู่สิ่งนึงที่ EAC ไม่ มีผล นั่นก็คือ "เวทมนตร์ไม่มีธาตุ" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสกิลของสายวิซาร์ด (และมีเพิ่มเติมอีกหลายสกิล จะแจ้งภายหลัง) สกิลเหล่านี้จะไม่ได้รับผลจากค่าแก้ไขพลังธาตุแต่อย่างใด
=== 3. ค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการโจมตี(atkEVC) นั้นจะส่งผลไปถึง ระดับพลังธาตุด้านการโจมตี หรือ Elemental Level(attack): atkELv ซึ่งส่งผลให้การโจมตีใส่สิ่งที่มีธาตุต่างๆได้ผลไม่เหมือนกัน (การคำนวณอยู่ใน part IV)

ค่าการแก้ไขพลังธาตุด้านการป้องกัน (Elemental defensive correction: EDC) 
ในส่วนของบรรทัดล่างนั้น ผลของการ์ดจะไปทำให้ตัวละครมี ธาตุของตัวเอง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยที่เมื่อดูจากตารางด้านล่าง จะพบว่า... 








- ค่าของผลบวกพลังธาตุสามารถมีได้มากกว่า 1 ค่า แต่ตัวระบบจะทำการ เลือก ค่าที่สูงที่สุดเ่ท่านั้นเป็น "ค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการป้องกัน (Elemental defensive correction: EDC)" ให้กับตัวละคร
# กรณีที่ค่าผลบวกพลังธาตุแบบในตารางมีค่าสูงสุดมากกว่า 1 ค่าพร้อมกัน ทางระบบจะ เลือก ตัวที่อยู่ทาง ซ้ายสุด เป็น EDC

- EDC มีผลโดยตรงต่อตัวละครดังนี้
=== 1. ตัวละครตัวนั้นจะมีธาตุของตัวเองทันที (เหมือนการใส่เกราะธาตุ) โดยความแรงของธาตุตัวเองจะขึ้นอยู่กับตัวเลขของธาตุที่เป็น EDC ของเรา เรียกว่า ค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการป้องกัน (Element Value Correction(defense): defEVC) ซึ่งจะนำไปคำนวณความเสียหายในระบบธาตุต่อไป
=== 2. สกิลใส่เกราะธาตุของอาชีพสายชาแมน จะส่งผลแยกต่างหากกับ defEVC เช่น ถ้าบัฟธาตุเดียวกันให้ ผลของการป้องกันธาตุนั้นจะแรงขึ้น แต่ถ้าบัฟธาตุที่แตกต่างกันให้ ตัวละครนั้นก็จะได้การป้องกันธาตุมากกว่า 1 ชนิด
=== 3. ตัวเลขค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการป้องกัน (defEVC) จะส่งผลไปถึง ระดับพลังธาตุด้านป้องกัน หรือ Elemental Level(defense): defELv ซึ่งส่งผลต่อการรับความเสียหายอย่างชัดเจน (การคำนวณอยู่ใน part IV)

สรุป! สำหรับ ผลของการแก้ไขพลังธาตุ (EC) นั้น ด้านการโจมตี จะส่งผลถึงอาชีพที่้ใช้สกิลทุกชนิดไม่ว่าจะกายภาพ หรือเวทมนตร์ธาตุ "ยกเว้น" เวทมนตร์ไร้ธาตุเท่านั้น 
ส่วน ด้านการป้องกัน จะส่งผลถึงทุกอาชีพที่มีเลข defEVC จากการ์ดติดตัวไม่มากก็น้อย โดยขึ้นกับระดับ defELv ว่าผลจะรุนแรงขนาดไหน 

ขอจบในส่วน EC ไว้เพียงเท่านี้ ทั้งหมดที่กล่าวไปเป็นเพียงครึ่งเดียวของระบบธาตุที่ถูำกแก้ไขครั้งใหม่ ซึ่งผมกล่าวเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ Iris card ไปก่อน
ระบบคำนวณธาตุ (Element system) ที่แท้จริงนั้นอยู่ใน IV: New elemental system ครับ

กลุ่มเพิ่มความสามารถ (Ability Vector: AV) 
ส่วนของ AV จะยุ่งยากและซับซ้อนกว่ากลุ่ม EC


จาก รูป (ดึงมาให้ใหม่) จะเห็นว่าการ์ดนั้นจะมี "ชื่อ"(ที่เขียนว่า AV#1,2) ของกลุ่มอยู่ โดยที่การ์ดส่วนใหญ่มักจะอยู่กลุ่มเดียว แต่ก็มีการ์ดบางจำพวกที่อยู่ได้มากกว่า 1 กลุ่ม
หรือพูดง่ายๆคือ Iris card บางใบสามารถมี AV ได้หลายชุดแถมมีค่า แก้ไขธาตุ(EC) อยู่ด้วยอีกต่างหาก
ด้านขวาของ Ability Vector จะมีตัวเลขบอกเอาไว้ ตัวเลขนี้เรียกว่า ค่าเวกเตอร์ (Vector) ซึ่งมีตั้งแต่ไม่ถึง 10 จนเป็นร้อย(น้อยมาก)

ค่าที่สำคัญทั้งสองนี้บอกอะไรเราบ้าง?
1. Ability Vector(AV) นั้นจะบอกว่าการ์ดใบนี้ "ส่งผลถึง" อะไร กลุ่ม AV ของการ์ดนั้นมีอยู่มากกว่า 40 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ส่งผลถึงค่าต่างๆแตกต่างกันไป
เช่นบางกลุ่มส่งผลถึงค่าโจมตีกายภาพ บางกลุ่มเป็นสายปรับการโจมตีเวทย์ บางกลุ่มเป็น status ฯลฯ
โดยค่าที่มีการปรับเหล่านั้นจะเรียกว่า ผลปลดปล่อยความความสามารถ (Release Ability: RA)
2. ค่าเวกเตอร์ (Vector) ประจำกลุ่ม AV หนึ่งๆที่เราได้จะเป็นตัวชี้วัดว่ากลุ่ม AV นั้นจะให้ status เรามากน้อยเพียงใด โดยค่าเวกเตอร์จะก่อให้เกิด ระดับการปลดปล่อย (Releasibility Level: RLv) ซึ่งแต่ละ RLv จะให้ค่า RA ต่างกันไปดังแสดงในตารางข้างล่างนี้

3. ไม่ว่าเราจะใส่การ์ดไว้ที่ส่วนใด หากการ์ดเหล่านั้นมี Ability Vector(AV) เป็นกลุ่มเดียวกัน ค่า Vector จะ รวมกัน เสมอและทำให้ผลปลดปล่อยความความสามารถ (Release Ability: RA) หรือตัว RLv ยกระดับขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง 
4. ถ้าการ์ดทั้งหมดที่ใส่ในตัวละครหนึ่งๆมี Ability Vector(AV) หลากหลายประเภท พวกมันก็จะส่งผลให้ ผลปลดปล่อยความความสามารถ (Release Ability: RA) แสดงออกมาหลากหลายเช่นกัน
5. กรณีที่ค่าบางค่าใน Release Ability(RA) เช่น +HP มีการแสดงผลซ้ำกันหลายทีเนื่องจากมีกลุ่ม AV หลายกลุ่มทำงานพร้อมกัน ระบบจะทำการ "เลือก" ค่าที่สูงที่สุดเท่านั้น "จะไม่นำ" ค่าเหล่านั้นมาบวกกัน

ตัวอย่าง (ค่อยๆทำความเข้าใจครับ มันยุ่งน่าดู)
สมมุติว่าตัวละครหนึ่งใส่การ์ดเข้าไปหลายใบ(ไม่แจกแจง) ผลรวมของการ์ดทั้งหมดที่ใส่เข้าไปมีดังนี้
Ability Vector(AV) และค่า Vector รวมทั้งหมดของแต่ละกลุ่ม AV เป็นดังนี้
Ability Vector กลุ่ม A มีค่า Vector เป็น 56 จากตารางเราได้ RLv = 2
Ability Vector กลุ่ม B มีค่า Vector เป็น 500 จากตารางเราได้ RLv = 6
Ability Vector กลุ่ม C มีค่า Vector เป็น 12 จากตารางเราได้ RLv = 1
Ability Vector กลุ่ม D มีค่า Vector เป็น 177 จากตารางเราได้ RLv = 4
เมื่อไปเิปิดตารางจะพบว่า Release Ability(RA) ของแต่ละกลุ่มในระดับ RLv ที่ได้เ็ป็นแบบนี้
AV กลุ่ม A ได้ RA คือ +50 Max HP , +5% อัตราฟื้นฟู HP
AV กลุ่ม B ได้ RA คือ +1000 Max HP , +10% อัตราฟื้นฟู HP , +500 Max MP , +10% อัตราฟื้นฟู MP , +8%Critical , ลดพลังโจมตีกายภาพ 8%
AV กลุ่ม C ได้ RA คือ +30 Max SP
AV กลุ่ม D ได้ RA คือ +10% พลังป้องกันเกราะ , +6 left DEF
เมื่อดูค่า RA แยกตามกลุ่ม AV จะมีบางค่าที่เพิ่มเหมือนกันได้แ่ก่ +Max HP และ +%อัตราฟื้นฟู HP
และระบบจะเลือกเฉพาะอันที่ "สูงที่สุด" ดังที่กล่าวไปแล้ว
โดยสรุป ตัวละครนี้ได้ status จาก การเพิ่มความสามารถเป็นดังนี้ :
+1000 Max HP , +10% อัตราฟื้นฟู HP , +500 Max MP , +10% อัตราฟื้นฟู MP , +8%Critical , ลดพลังโจมตีกายภาพ 8% , +30 Max SP , +10% พลังป้องกันเกราะ , +6 left DEF

ค่าเหล่านี้ดึงมาจากตารางจริงไม่มีโมเม จะเห็นว่ากลุ่ม AV ของ Iris card นั้นส่งผลอย่างมหาศาลขึ้นอยู่กับชนิดการ์ดและการจัดการการ์ดที่สวมใส่
และจะเห็นว่า AV กลุ่ม A ซึ่งค่าโดนกลุ่ม B ทับหมดนั้นไม่มีประโยชน์เสียเลย เพลเยอร์คนนี้ควรหาการ์ดที่เพิ่มค่าอื่นมาใส่แทนจะดีกว่า~

III: Quest and construction 

เรียนรู้การใช้งานเบื้องต้นไปแล้ว ทีนี้มากันถึงเควสที่เกี่ยวข้องและการเจาะรูอุปกรณ์รวมไปถึงการอัพเกรดการ์ดกันดีกว่าครับ

- เริ่มต้น Quest สู่ Card Laboratory 
วิธีเข้า Card Laboratory ในครั้งแรก
1. คุยกับ NPC: Vakia ที่ Downtown ตะวันตก(ใกล้ๆบัันได)
2. เมื่อคุยเสร็จจะสามารถไปยัง Card Lab ได้ โดยมีเงื่อนไขคือ มีค่าชื่อเสียง 10 ขึ้นไป และ ห้ามมีคน possession(สิง) เราอยู่
รูปภาพรูปภาพ


NPC ภายใน Card Laboratory
#ตัวเลขแสดงตำแหน่งพร้อมรูปจะมาตอน patch เข้าแล้ว / ไม่รับรองว่าชื่อและคำพูดจะตรงกับภาษา(ถ้วย) ในเกมนะครับ~
ในหัวข้อนี้จะกล่าวเฉพาะตัว NPC และหน้าที่เท่านั้น คำศัพท์แปลกๆหรืออุปกรณ์แปลกๆที่โผล่ชื่อมาจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไปครัีบ
1. Dr.Senior
























- คุยแล้วเลือก "ฟังเรื่องราวของ Iris Card"
- หลังจากนั้น NPC: Dreamer Hallelujah จะปรากฏตัวขึ้นที่ Downtown
- เมื่อคุยเสร็จ จะสามารถทำการเพิ่ม Card Slot รวมถึงการซื้อขายและแลกเปลี่ยนการ์ดได้ที่ Card Laboratory และDowntown
- สามารถขอรับ Card Holder ได้ [เป็นอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์สำหรับเก็บการ์ดบน Flying garden
- นอกจากนี้ Dr.Senior ยังขายส่วนไอเท็มส่วนผสมจำเป็นสำหรับการเพิ่ม Card Slot ด้วย [หัวข้อต่อๆไป]


2. Ash Coltica



 - สามารถทำการเพิ่ม Card Slot ได้ 
- สามารถทำ Card Assemble ได้ [หัวข้อต่อๆไป]
*ต้องคุยกับ 1. Dr.Senior เรียบร้อยแล้ว


3. Vakia

- สามารถซื้อ Blank Iris Card กับเขาได้ [หัวข้อต่อๆไป]
*ต้องคุยกับ 1. Dr.Senior เรียบร้อยแล้ว

4. Dreamer Hallelujah



- สามารถทำ Iris Card Exchange (แลกเปลี่ยนการ์ด) ได้ [หัวข้อต่อๆไป]
- ปรากฎตัวอยู่หลายที่ โดยมีชุดการ์ดที่แลกได้ต่างๆกันไป
*ต้องคุยกับ 1. Dr.Senior เรียบร้อยแล้ว
=====================================================================

- เพิ่ม Card Slot ให้ักับอุปกรณ์ 
ทำไมต้องเพิ่ม Card Slot?
-----: การจะติดตั้ง Iris card นั้นจำเป็นต้องเพิ่ีม Card Slot ที่อุปกรณ์เสียก่อน
-----: อุปกรณ์ที่สามารถเพิ่ม Card Slot ลงไป ได้แก่...
1. อาวุธ [อาวุธมือขวา, อาวุธ 2 มือ, ธนู]
2. เสื้อผ้า [upper body(เสื้อสวมใส่ส่วนบน), overall, เสื้อผ้าที่สวมทับส่วนบน]
3. เครื่องประดับอก (chest accessory)

วิธีเพิ่ม Card Slot
สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้
1. ขอร้อง NPC: Ash Coltica
-----: สถานที่คือ ตะวันตกเฉียงใต้ของDowntown และที่ Card Laboratory
-----: จำเป็นต้องมีเงื่อนไขบางอย่างจึงจะสามารถขอร้องได้ [ยังไม่ทราบเงื่อนไขที่แน่ชัด]
-----: เสียวัตถุดิบในการเพิ่ม Card Slot พร้อมค่าใช้จ่ายเป็นเงิน = Lv.ของอุปกรณ์ x 1,000 G [เท่าค่าหลอมไอเท็ม]

2. ใช้สกิล Item Refine ของตัวละครสาย Backpacker
-----: เมื่อใช้สกิลใส่ตัวละครจะมีคำสั่งสำหรับเพิ่ม Card Slot เพิ่มขึ้นมาให้เลือก และกดใช้ใส่คนอื่นได้ด้วย
-----: หากตัวละครมีสกิลผลิตไอเท็มที่ตรงกับอุปกรณ์ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเจาะ Card Slot ได้ด้วย สกิลที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1. อาวุธ [ รูปภาพWeapon Create , รูปภาพBow Create , รูปภาพStaff Create , รูปภาพMachine Create]
2. เสื้อผ้า [ รูปภาพSewing Create , รูปภาพProtection Create]
3. ไม่มีอาชีพใดๆที่มีสกิล


Item จำเป็นสำหรับการเพิ่ม Card Slot 
-----: การเพิ่ม Card Slot ต้องใช้ไอเท็มกลุ่ม Crystal of Thought
-----: อุปกรณ์ที่ระดับเลเวลต่างๆจะใช้ Crystal of Thought ต่างกันออกไปดังนี้
Equipment Lv 1~30 ใช้ไอเท็ม รูปภาพ Crystal of Thought
Equipment Lv 31~70 ใช้ไอเท็ม รูปภาพ Big Crystal of Thought
Equipment Lv 71~99 ใช้ไอเท็ม รูปภาพ True Crystal of Thought

Crystal of Thought สามารถสร้างได้ดังนี้
1. วัตถุดิบสำคัญทั้งหมดสามารถซื้อได้จาก 1. Dr.Senior หลังคุยครั้งแรกเรียบร้อยแล้ว
รายการ Item ที่ Dr.Senior ขายเพื่อนำไปทำวัตถุดิบเพิ่ม Card Slot มีตังตารางนี้
รูปภาพ
2. นำวัตถุดับขั้นที่ 1 มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบขั้นที่ 2 โดยใช้สกิลต่างๆของอาชีพสาย Backpacker [สามารถซื้อวัตถุดับขั้นที่ 2 ได้เลยเช่นกัน]
3. นำวัตถุดับขั้นที่ 2 ทั้ง 3 ชนิดมารวมกันเป็น Crystal of Thought ชนิดต่างๆโดยใช้สกิล รูปภาพItem Refine
ตารางส่วนผสม
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ

โอกาสสำเร็จในการเพิ่ม Card Slot
การเำิ่พิ่ม Card Slot โดยใช้สกิล รูปภาพItem Refine ของสาย BP จำมีโอกาสสำเร็จสูงกว่าทำกับ NPC โดยมีโอกาสสำเร็จเพิ่มขึ้นตาม...
ทำกับ NPC --> ใ้ช้สกิล Item Refine ของสาย BP --> ใ้ช้สกิล Item Refine ของสาย BP ที่มีสกิลผลิตของตรงกับชนิดอุปกรณ์ 

โอกาสประสบความสำเร็จในการเพิ่ม Card Slot(แบบทำกับ NPC) จะเป็นไปตามตารางนี้
รูปภาพ
# หากการเจาะ Card Slot ล้มเหลว อุปกรณ์ชิ้นนั้นจะหายไปเลย
# การเพิ่ม Card Slot ก็มีัลักษณะเดียวกันกับการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์(ตีบวกไอเท็ม) ซึ่งคงจะมี Cash Item สำหรับกันแตกแน่นอน
=====================================================================

- Card Assembly System 
อะไรคือ Card Assembly system?
-----: คือการนำ Iris card ชนิดเดียวกันหลายๆใบมารวมกันเป็นใบเดียว เพื่อให้ได้การ์ดใบใหม่ที่ดีขึ้น
-----: การ์ดใบใหม่นี้จะมีรูปร่างเหมือนการ์ดเดิม เว้นแต่มี ค่าเวกเตอร์ (Vector) และ ค่าแก้ไขพลังธาตุ (Element Value Correction: EVC) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ ระดับการปลดปล่อย (Releasibility Level: RLv) และ ระดับพลังธาตุ (Elemental Level: ELv) เพิ่มขึ้นนั่นเอง
-----: เมื่อทำการ Assemble จะทำให้ระดับการ์ด หรือ Rank (R) เพิ่มมากขึ้น
-----: Rank ของการ์ดมีอยู่ 5 ระดับคือ No Rank , R1 , R2 , R3 และสูงสุดที่ R4
-----: Rank ของการ์ดมีผลมากต่อระดับพลังที่การ์ดนั้นจะให้เรา เนื่องจากมีค่า Vector และ EVC มาก โดยกินช่องใส่เพียงช่องเดียว
ตัวอย่าง
การ์ดใบหนึ่ง(ของจริง) มีค่า Vector ในระดับ No Rank เป็น 5
เมื่อทำการ Assemble จะได้ดังนี้ R1 มี Vector เป็น 15 / R2 มี Vector เป็น 30 / R3 มี Vector เป็น 55 / และที่ R4 มีVector เป็น 90!
ส่วนเรื่องรูปการ์ดและไอเท็มกล่าวไปแล้วว่าเหมือนเดิมเป๊ะ เพียงแต่มีสัญลักษณ์เพิ่มมานิดหน่อย
รูปภาพ อันนี้คือ Iris card ธรรมดา ไม่ได้ผ่านการ Assemble
และนี่ รูปภาพ เป็นการ์ดอัพเกรดระดับ R1 ครับ

วิธีทำ Assemble Card
1. ขอร้อง NPC: Ash Coltica ที่ Downtown หรือ Card Laboratory โดยเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 5,000 G [เท่าค่าตีบวก]
2. ใช้สกิล รูปภาพItem Refine ของตัวละครสาย Backpacker

โอกาสสำเร็จในการ Assemble Card
ตารางด้านล่างนี้คือจำนวน Iris card ที่ใช้ในการ Assemble ในระดับต่างๆ
รูปภาพ
# ตารางนี้เป็นกรณีที่ Assemble สำเร็จตลอด โดยการใ้ช้ใบกันแหกใน Cash ถ้าไม่ใช้ใบกันแหกจะต้องเตรียมไปมากกว่านี้
# มี Comment จากวิกิญี่ปุ่นว่า เตรียมการ์ดไปกว่า 2,000 ใบ ยังไม่ได้การ์ด R4 เลยแม้แต่ใบเดียว (ไม่ใช้ใบแคชกันแหก)
=====================================================================

- How to get Iris Card?
Blank & EX Blank Iris Card
เราไม่สามารถหา Iris card มาใช้งานได้ทันที แต่ต้องมี การ์ดไอริสว่าง(Blank Iris Card) เสียก่อน จากนั้นค่อยนำมันมาแลกเป็นการ์ดพร้อมใช้งานอีกที
การ์ดว่างๆนั้นมีอยู่สองแบบคือ Blank Iris Card และ EX Blank Iris Card
-----: Blank Iris Card เป็นการ์ดทั่วไป สามารถหาซื้อได้จาก NPC และดรอบจากมอนสเตอร์หลากหลายชนิด
NPC: Vakia จะขายการ์ดประเภทนี้ให้เรา รวมถึงการหาจากมอนตามตารางด้านล่างนี้
รูปภาพ

-----: EX Blank Iris Card เป็นการ์ดที่พิเศษ มีคุณสมบัติโดดเด่นกว่าการ์ดปกติ หาได้จากใน Cash Shop เท่านั้น ดังในตาราง
รูปภาพ

วิธีที่จะได้รับ Iris Card
Iris Card Exchange (แลกเปลี่ยนการ์ด)
-----: ได้จากการนำ Blank Iris Card หรือ EX Blank Iris Card ไปมอบให้ NPC: Dreamer Hallelujah เพื่อ Ramdom แลกกับ Iris card 1 ใบ
-----: Dreamer Hallelujah แต่ละสถานที่จะมีชุดการ์ดที่ Random แตกต่างกันออกไปดังนี้
ชุดที่ 1
นำ Blank Iris Card หรือ EX Blank Iris Card ไปแลกกับ Dreamer Hallelujah ที่ Downtown หรือที่ Card Laboratory
ชุดที่ 2
นำ EX Blank Iris Card ไปแลกกับ Dreamer Hallelujah ที่ Northan Promnard
ชุดที่ 3
ได้จากตั๋วตุ๋นชุด Aquarian age
ชุดที่ 4
นำ Blank Iris Card หรือ EX Blank Iris Card ไปแลกกับ Dreamer Hallelujah ที่ Iron City Upstairs
ชุดที่ 5
นำ EX Blank Iris Card ไปแลกกับ Dreamer Hallelujah ที่ Tonka Island
ชุดที่ 6
นำ EX Blank Iris Card ไปแลกกับ Dreamer Hallelujah ที่ Fareast City
ชุด Mintsuku
นำ Blank Iris Card ไปแลกกับ Dreamer Hallelujah ที่ ECO Town Shop Zone (ไม่สามารถแลก Uncommon: UC ได้)
=====================================================================

- ใช้งานและเก็บสะสม Iris Card 
การติดตั้ง Iris Card 
-----: การ์ดจะแสดงผลเมื่อติดตั้งเข้าไปยัง Card Slot ที่เจาะไว้แล้วบนอุปกรณ์
-----: สามารถติดตั้งได้ตามจำนวน Card Slot ของอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ และตามเงื่อนไขตำแหน่งติดตั้งของตัว Iris card เอง
-----: เมนูสำหรับถอดและใส่ Iris card จะอยู่ในหน้าต่างข้อมูลไอเท็ม (Item window)
-----: สามารถเลือก ได้ว่าจะทำการ ล็อก (Lock) การ์ดใบนั้นลงไปบนอุปกรณ์หรือไม่
=====: กรณีไม่ทำการ Lock จะมีโอกาสที่ Iris card จะเสียหายจากการต่อสู้ (เหมือนความทนทานลดลง) แต่เนื่องจาก Iriscard ไม่มีความทนทาน เมื่อเกิดความเสียหาย การ์ดนั้นจะ หายไป จากอุปกรณ์เลย และถ้ามีคนสิง(possession) อุปกรณ์ชิ้นนั้นอยู่ Iris card บนนั้นจะ ไม่แสดงผล
=====: กรณีทำการ Lock การ์ดลงในอุปกรณ์ เราจะ ไม่สามารถถอด Iris card ออกมาได้อีก แต่การ์ดจะไม่เสียหายจากการต่อสู้ และยังแสดงผลเมื่อมีคนสิงอุปกรณ์
-----: เราสามารถ Unlock การ์ดได้โดยใช้ Cash Item

การเก็บ Iris Card 
-----: นอกจากจะเก็บไว้ในช่อง Item แล้ว เรายังสามารถเก็บการ์ดไว้ใน Card Holder ซึ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับสวนลอยฟ้าได้ด้วย
รูปร่างเป็นแบบนี้ครับ
รูปภาพ
-----: Card Holder เก็บได้สูงสุดแค่ 99 ใบต่อชนิด แต่มีช่องพอสำหรับการเก็บ Iris card ทุกชนิด
-----: แขกที่มาเยี่ยมสวนลอยฟ้า สามารถชมการ์ดที่เราเก็บไว้ใน Card Holder ได้
-----: หากไม่มีสวนลอยฟ้า ก็ไม่สามารถใช้งาน Card Holder ได้
-----: Card Holder เล่มแรกสามารถขอรับได้ที่ NPC: Dr.Senior โดยเลือกตอบว่า "อยากเก็บรักษาการ์ด"
-----: กรณีขอรับเล่มที่สอง ต้องเสียเงิน 10,000 G และไม่ว่าจะวาง Card Holder ไว้บนบ้านกีี่่เล่มก็ตาม จำนวน Iris cardสูงสุดที่เก็บได้ก็ยังคงเป็น 99 ใบอยู่ดี


New elemental system 

มาถึงสิ่งสำคัญอีกสิ่งนึงของ Extra update : Iris ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดต่างๆอีกมากมายทีเดียว
แต่ ก่อนนั้น ระบบธาตุในเกมของเรามีบทบาทอยู่ก็แต่เพียงสายอาชีพที่มีสกิลโจมตีพลังธาตุ เท่านั้น ซึ่งก็มีแต่สาย SU และ อาชีพอื่นๆอีกแค่เล็กน้อย
อีกทั้งความแรงของการแพ้-ชนะ ธาตุันั้นไม่รุนแรงนักจนคนส่วนใหญ่มองข้ามมันไป
ด้วยเหตุนี้เอง Extra update : Iris จะทำให้ระบบธาตุกลับมามีความสำคัญอีกครั้งด้วยการ... เปลี่ยนแปลงระบบธาตุขนานใหญ่ แบบที่จะมองข้ามมันเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้อีกแล้วนั่นเอง

- สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ "ธาตุ" 
ธาตุ
"ธาตุ (Element)" คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงในทางเคมี ให้เป็นสสารอื่นได้ ประกอบไปด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน(ยกเว้นไฮโดรเจนไม่มีอิเล็กตรอน) ธาตุแต่ละธาตุมีคุณสมบัิตทางเคมีแตกต่างกันออกไป...

เอาใหม่ๆ
"ธาตุ (Element)" เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่ในพื้นที่(Field) มอนสเตอร์(Monster) ผู้เล่น(Character) และในการโจมตีต่างๆ(Skill) มีอยู่ทั้งหมดด้วยกัน 7 รูปแบบได้แก่...
1. ไร้ธาตุ / เวทมนตร์แขนงใหม่ (Newtype!?)
2. ธาตุพสุธา (Earth Element)
3. ธาตุวารี (Water Element)
4. ธาตุวายุ (Wind Element)
5. ธาตุอัคคี (Fire Element)
6. ธาตุแสงสว่าง (Light Element)
7. ธาตุความมืด (Dark Element)
วงจรการแพ้-ชนะระหว่างธาตุต่างๆนั้นคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ดังรูปข้างล่างครับ
รูปภาพ
เพื่อความละเอียดที่มากขึ้น เราจะเขียนตารางผังการ แพ้-ชนะ ธาตุให้ชัดๆกันอีกครั้งดังนี้...
รูปภาพ
ตารางในส่วนของคอลัมน์ หมายถึงผู้รับการโจมตี(เป็นฝ่ายป้องกัน) และตารางในส่วนของแถว หมายถึงผู้จู่โจม(เป็นฝ่ายโจมตี)
ระดับความรุนแรงของพลังโจมตีที่เกิดขึ้นจะเรียงจากมากไปหาน้อยตามนี้ครับ
Extremely HIGH>>>Very HIGH>>>HIGH>>>100%>>>LOW>>>Very LOW>>>Extremely LOW
ตารางนี้จะถูกใ้ช้อีกครั้งตอนท้าย เพื่อคำนวณผลที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ตอนนี้เอาแค่จำว่าอะไรชนะ-แพ้อะไรไว้ก่อนก็พอครับ

สกิลโจมตีกายภาพทุกประเภทที่ไม่ระบุว่ามีธาตุ และเวทมนตร์แขนงใหม่อย่างของสายอาชีพ Wizard นั้นถือว่าไม่มีธาตุใดๆติดอยู่
รวมไปถึงตัวผู้เล่นเปล่าๆที่ยังไม่ได้รับการเสริมธาตุด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง[จะกล่าวต่อไป] ก็ไม่มีธาตุเช่นกัน
ดังนั้นแล้วส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกับความ "ไร้ธาตุ" มากกว่าการมีธาตุ ซึ่ง Iris card จะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ต่อไป

ค่าธาตุ 
#จากนี้ไปเมื่อพูดถึง "ธาตุ" หมายถึงธาตุหลัก 6 ธาตุ ไม่นับพวกไร้ธาตุนะครับ

ค่าธาตุ หมาย ถึงระดับความแรงของธาตุที่สถิตย์อยู่ในสิ่งต่างๆทั้งผู้เล่น มอนสเตอร์และพื้นที่ โดยบอกได้เป็นตัวเลขจำนวนเต็มมีค่าตั้งแต่ 0 จนถึง 100
-----: ค่าธาตุเป็น 0 หมายถึง ไร้ธาตุ
-----: ค่าธาตุเิกิน 0 (1 ไปถึง 100) แสดงว่ามีสมบัิติของธาตุอยู่
-----: ค่าธาตุจากการคำนวณสามารถเกิน 100 ได้ แต่ถึงจะเกิน 100 ก็จะแสดงผลเหมือนค่าธาตุที่ 100 อยู่ดี
-----: ค่าธาตุของมอนสเตอร์และฟิลด์ไม่จำเป็นต้องมีค่าเป็น 100
-----: สกิลโจมตีที่มีธาตุเดียวในตัวเองมีค่าธาตุเป็น 100 เสมอ

Field 
ทั่วโลกของเรา พื้นที่ต่างๆนั้นก็มีธาตุเป็นของตัวเอง ซึ่งแต่ละสถานที่ก็ีมีธาตุและค่าธาตุแตกต่างกันออกไป
การตรวจสอบธาตุของสถานที่ต่างๆนั้นทำได้โดยใช้สกิล Element Sense(Job25) ของอาชีพ Shaman หรืออาจบอกได้คร่าวๆจาก...
สถานที่ๆ อากาศร้อน พลังของธาตุไฟจะแข็งแกร่ง
สถานที่ๆ อากาศเย็น พลังของธาตุน้ำจะแข็งแกร่ง
สถานที่ๆ อากาศกรรโชก พลังของธาตุลมจะแข็งแกร่ง
สถานที่ๆ มีต้นไม้ใบหญ้าอุดมสมบูรณ์ พลังของธาตุดินจะแข็งแกร่ง
โดยบริเวณที่อยู่ใกล้ๆกับภูต(Spirit) ประจำธาตุทั้ง 6 ซึ่งกระจายอยู่ตาม Map ต่างๆจะมีค่าความแรงของธาตุมากขึ้น
สถานที่ต่างๆในโลกอะโครเนียมีธาตุที่ค่อนข้างเจาะจงและแยกได้ไม่ยากนัก ดังรูปข้างล่าง
รูปภาพ
#ใช้แก้ขัดไปก่อน ไว้ทำอันอ่านง่ายๆมาแปะ; credit: http://ecologie.sakura.ne.jp/map/index.htm
และเช่นกัน บาง Map นั้นก็ไม่มีธาตุได้ด้วย
สำ หรับดันเจี้ยน(Dungeon) ก็มีธาตุในพื้นที่เช่นกัน แต่อาจมีได้มากกว่า 1 ธาตุพร้อมๆกันโดยที่แต่ละธาตุก็มีค่าธาตุแตกต่างกันออกไป เช่น East Dungeon ก็มีทุกธาตุผสมกันอยู่

ตรวจสอบค่าธาตุตัวละคร 
(ยกมาจาก Part II)
เริ่มจากการเปิด window status สำหรับตั้งแต่ Iris update เป็นต้นไปมันจะมีช่อง element เพิ่มมาให้
ซึ่งมันจะบอกว่าเราได้ผลอะไรจาก Iris card ที่ใส่ไปแล้วบ้าง
รูปภาพ
บรรทัดบนนั้นเป็นค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการโจมตี (Elemental attack correction: EAC)
ส่วนบรรทัดล่างเป็นค่าการแก้ไขพลังธาตุด้านการป้องกัน (Elemental defensive correction: EDC)

เตือนความจำจาก Part II 
สำหรับคนที่จำได้หมดแล้วข้ามไปได้เลยครับ ในที่นี้จะขอทบทวนระบบธาตุที่เกี่ยวข้องกับ Iris card ซักนิดเผื่อมีคนสงสัย
-----: Iris card บางใบจะมี กลุ่มแก้ไขพลังธาตุ (Element Correction: EC) เป็นหนึ่งในคุณสมบัิติ เมือติดตั้งการ์ดลงไปก็จะเกิดผล
-----: แต่การเกิด EC ไม่จำเป็นต้องมาจาก Iris card เพียง อย่างเดียว แต่สามารถมีได้จากการ Buff โดยสกิลต่างๆ, ชุดและอาวุธที่เสริมค่าธาตุ(เช่นพวก Void Staff) โดยมีผลต่อการโจมตีไม่แตกต่างกัน
-----: ค่าแก้ไขพลังธาตุนี้จะไปเสริมให้กับการ Attack(เพิ่มผลการโจมตี) หรือ Defense(ป้องกันการโจมตี) ขึ้นกับตำแหน่งของอุปกรณ์ติดตั้ง โดยเราเรียก ตัวแก้ไขพลังธาตุด้านการโจมตี(atkEVC) และ ตัวเลขค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการป้องกัน (defEVC) ตามลำดับ
-----: ค่า EDC และ EAC มีได้เพียงค่าเดียว ซึ่งสองส่วนนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
-----: โดยสรุป ตัวละครหนึ่งๆจะต้องมี EDC อยู่ 1 ธาตุเท่านั้นที่ความแรงค่าหนึ่ง และ EAC อีก 1 ธาตุที่ความแรงค่าหนึ่ง
#กันงง
ถ้าพูดถึง EDC และ EAC จะหมายถึง "ชนิดของธาตุ"
แต่ถ้าพูดถึง atkEVC และ defEVC จะหมายถึง "ตัวเลขที่แสดงใน status"

- การโจมตี 
กรณีที่ 1: สกิลโจมตีมีธาตุในตัวเอง 
-----: ถ้าสกิลนั้นมี ธาตุ ตรงกับ ค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการโจมตี (Elemental attack correction: EAC) ของตัวละคร ผลของความแรงธาตุคือ atkEVC + ค่าธาตุของท่า
-----: ตรงข้าม หากสกิลมี ธาตุ ไม่ตรงกับ EAC สกิลนั้นก็จะยังคงมีค่าธาตุเป็นไปตามเดิม
-----: อย่างไรก็ดี แม้จะรวมค่าความแรงธาตุได้มากกว่า 100 ผลที่เกิดขึ้นก็เทียบเท่าค่าธาตุ 100 อยู่ดี
ตัวอย่าง
1. EACของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า atkEVCที่ 10 ยิงสกิลที่มีค่าความแรงธาตุน้ำ(เช่น Ice Arrow) 100 ==> ผลคือ...ธาตุในการโจมตีจะได้เป็น น้ำ 110 ==> มีผลไม่ต่างกับเดิมที่น้ำ 100
2. EACของตัวละครเป็นธาตุ มืด มีค่า atkEVCที่ 100 ยิงสกิลที่มีค่าความแรงธาตุแสง(เช่น Holy light) 100 ==> ผลคือ...ธาตุในการโจมตีจะได้เป็น แสง 100 ==> ธาตุที่ยิงไม่ตรงกับ EAC จึงไม่มีผล
3. EACของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า atkEVCที่ 10 ยิงสกิลที่มีค่าความแรงธาตุลม(เช่น Lightening) 100 ==> ผลรวมธาตุในการโจมตีจะได้เป็น ลม 100 ==> ธาตุที่ยิงไม่ตรงกับ EAC จึงไม่มีผล
4. EACของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า atkEVCที่ 30 ยิงสกิลที่มีค่าความแรงธาตุน้ำ 50 ==> ผลรวมธาตุในการโจมตีจะได้เป็นน้ำ 80

กรณีที่ 2: สกิลกายภาพที่ไม่มีธาตุในตัวเอง
-----: [จากกรณี 1.] ผลของความแรงธาตุคือ atkEVC + ค่าธาตุของท่า
-----: ค่าธาตุของสกิลกายภาพคือ +0 ดังนั้น ผลของความแรงธาตุคือ atkEVC เพียงอย่างเดียว
-----: ดังนั้นสกิลกายภาพที่โจมตีออกไปจะมีธาตุทันทีโดยเป็นธาตุตาม EAC ของตัวละคร และมีค่าธาตุเท่ากับ atkEVC ของตัวละคร
-----: พูดง่ายๆก็คือ สกิลกายภาพทั้งหมดจะมีธาตุทันทีถ้าตัวละครนั้นมี EAC ที่ไม่ใช่ไร้ธาตุขึ้นมา

กรณีที่ 3: สกิลเวทมนตร์ที่ไม่ีมีธาตุในตัวเอง 
-----: [จากกรณี 1.] ผลของความแรงธาตุคือ atkEVC + ค่าธาตุของท่า
-----: ค่าธาตุของสกิลกายภาพคือ *0 ดังนั้น ผลของความแรงธาตุคือ atkEVC*0 = 0
-----: สรุปไำด้ทัน... สกิลเวทย์ไร้ธาตุจะไม่ได้รับผลจาก EAC ของตัวละครไม่ว่ากรณีใดๆ
-----: พูดง่ายๆก็คือมันยังเหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยน ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี Iris card ก็ตาม

กรณีเสริม: ผลของ Field 
-----: Field จะส่งผลต่อตัวละครต่อเมื่อตัวละครนั้นมี EAC ที่ไม่ใ่ช่ไร้ธาตุสำหรับการโจมตีกายภาพ
-----: ถ้าการโจมตีมี ธาตุ ตรงกับ Field ผลของความแรงธาตุคือ atkEVC + ค่าธาตุของ Field
-----: ตรงข้ามถ้าการโจมตีมี ธาตุ ไม่ตรงกับ Field การโจมตีจะยังคงมีค่าธาตุตามเดิม
-----: เมื่อรวมผลของทั้ง EAC และ Field จะได้ว่า ผลของความแรงธาตุ = ค่าธาตุของท่า + atkEVC + ค่าธาตุของField(ต้องตรงกับEAC หรือธาตุของท่าจึงจะแสดงผล)
ตัวอย่าง
1. ตัวละครไม่ได้ใส่การ์ดหรือเสริมธาตุใดๆ (ไม่มีEAC) โจมตีกายภาพใน Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 50 ==> Field ไม่แสดงผล ==> ผลคือ...การโจมตีเป็นรูปแบบปกติ
2. ตัวละครไม่ได้ใส่การ์ดหรือเสริมธาตุใดๆ (ไม่มีEAC) โจมตีสกิลที่มีค่าความแรงธาตุน้ำ(เช่น Ice Arrow) 100 Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...การโจมตีเป็นรูปแบบปกติมีความแรงธาตุน้ำเป็น 150(ท่า100+Field50) ==> มีผลไม่ต่างกับเดิมที่น้ำ100
3. EACของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า atkEVCที่ 10 ยิงสกิลที่มีค่าความแรงธาตุน้ำ(เช่น Ice Arrow) 100 ใน Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...ธาตุในการโจมตีจะได้เป็น น้ำ 160(ท่า100+atkEVC10+Field50) ==> มีผลไม่ต่างกับเดิมที่น้ำ 100
4. EACของตัวละครเป็นธาตุ ลม มีค่า atkEVCที่ 10 ยิงสกิลที่มีค่าความแรงธาตุน้ำ(เช่น Ice Arrow) 100 ใน Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...ธาตุในการโจมตีจะได้เป็น น้ำ 150(ท่า100+Field50) ==> มีผลไม่ต่างกับเดิมที่น้ำ 100
5. EACของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า atkEVCที่ 10 ยิงสกิลที่มีค่าความแรงธาตุน้ำ(เช่น Ice Arrow) 100 ใน Field ลมมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...ธาตุในการโจมตีจะได้เป็น น้ำ 110(ท่า100+atkEVC10) ==> มีผลไม่ต่างกับเดิมที่น้ำ 100
6. EACของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า atkEVCที่ 10 โจมตีทางกายภาพ ใน Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...ธาตุในการโจมตีจะได้เป็น น้ำ 60(atkEVC10+Field50)
7. EACของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า atkEVCที่ 10 โจมตีทางกายภาพ ใน Field ลมมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...ธาตุในการโจมตีจะได้เป็น น้ำ 10(atkEVC10) ==> Field ไม่แสดงผลในกรณีนี้

จัดตัวอย่างไปเยอะๆ กันเข้าใจผิด เยอะไปอย่างว่ากันน้า~

- การป้องกัน 
เนื่องจากตัวละครของเราๆ เริ่มต้นจาก การป้องกันที่ ไร้ธาตุ ก่อนเสมอ เลยอธิบายรวมๆไปเลยละกัน
การป้องกันจากผลของ EDC
-----: ค่าป้องกันของตัวละครที่สวมใส่ Equipment ซึ่งปรับเปลี่ยนธาตุ หรือติดตั้งIris card จะมี EDC ประจำตัวทันที
-----: EDC ไม่เกี่ยวข้องกับ EAC แม้แต่น้อย จะแสดงผลเมื่อ "ถูกการโจมตีที่มีธาตุ" เท่านั้น
-----: ค่า EDC มีลักษณะไม่ต่างกับค่าธาตุ คือมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 และสามารถเกิน 100 ได้ในการคำนวณ แต่ส่งผลสูงสุดที่ค่า 100 เช่นกัน
ผลของ Field 
-----: Field จะส่งผลต่อตัวละครต่อเมื่อตัวละครนั้นมี EDC ที่ไม่ใ่ช่ไร้ธาตุ เท่านั้น
-----: ในกรณีที่ Field มี ธาตุ EDC ตรงกับของตัวละคร ผลของค่าป้องกันธาตุคือคือ defEVC + ค่าธาตุของ Field
-----: ในกรณีที่ Field มี ธาตุไม่ตรง กับ EDC ของตัวละคร ผลของค่าป้องกันธาตุคือคือ defEVC เท่านั้น
ตัวอย่าง
1. ตัวละครไม่ได้ใส่การ์ดหรือเสริมธาตุใดๆ (ไม่มีEDC) ถูกโจมตีกายภาพใน Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 50 ==> Field ไม่แสดงผล ==> ผลคือ...คิดความเสียหายเป็นรูปแบบปกติ
2. ตัวละครไม่ได้ใส่การ์ดหรือเสริมธาตุใดๆ (ไม่มีEDC) ถูกโจมตีโดยสกิลที่มีค่าความแรงธาตุน้ำ(เช่น Ice Arrow) 100 ใน Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...คิดความเสียหายเป็นรูปแบบปกติ(คิดเพิ่มแต่ฝั่งที่โจมตี)
3. EDCของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า defEVCที่ 10 ยืนอยู่ใน Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...ได้ค่า defEVC ธาตุ น้ำเป็น 60(defEVC10+Field50)
4. EDCของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า defEVCที่ 10 ยืนอยู่ใน Field ไฟมีค่าธาตุเป็น 50 ==> ผลคือ...ได้ค่า defEVC ธาตุ น้ำเป็น 10(defEVC10) ==> Field ไม่แสดงผลนั่นเอง
5. EDCของตัวละครเป็นธาตุ น้ำ มีค่า defEVCที่ 50 ยืนอยู่ใน Field น้ำมีค่าธาตุเป็น 100 ==> ผลคือ...ได้ค่า defEVC ธาตุ น้ำเป็น 150(defEVC50+Field100) ==> ผลเทียบเท่าค่าธาตุ น้ำ ที่ 100

- สถานะผิดปกติ 
สถานะผิดปกติก็สร้างธาตุให้กับเราได้เช่นกัน โดยไปเปลี่ยน "ค่าแก้ไขพลังธาตุด้านการป้องกัน (Elemental defensive correction: EDC)" ชั่วคราว
มีสถานะผิดปกติแค่ 2 ชนิดเท่านั้นที่ทำเช่นนี้ได้แก่....
เมดูซ่า(หิน) ได้ EDC เป็นธาตุ ดิน โดยมีค่า defEVC เป็น 100
เยือกแข็ง ได้ EDC เป็นธาตุ น้ำ โดยมีค่า defEVC เป็น 100

- ผลของ EVC และความรุนแรงของระบบธาตุใหม่ 
ระดับพลังธาตุ (Elemental Level: ELv) 
-----: ค่าธาตุที่ระดับต่างๆจะทำให้เกิด ระดับพลังธาตุ แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อพลังโจมตี และ พลังป้องกัน
-----: ยิ่ง ระดับพลังธาตุ(ELv) สูงขึ้นเท่าใด ผลที่เกิดต่อตัวละครจะรุนแรงขึ้นเท่านั้น
คล้ายคลึงกับในส่วนของ กลุ่มเพิ่มความสามารถ (Ability Vector: AV) ที่มีการคำนวณรวมตัวเลข เวกเตอร์ (Vector) เพื่อให้ได้ ระดับการปลดปล่อย (Releasibility Level: RLv) ที่สูงขึ้น
ส่วนของ EVC เอง ก็มีเช่นกัน โดยแยกเป็นสองส่วนคือ
ระดับพลังธาตุด้านการโจมตี หรือ Elemental Level(attack): atkELv
และ
ระดับพลังธาตุด้านป้องกัน หรือ Elemental Level(defense): defELv
ทั้งสองแบบใช้วิธีิคิดเดียวกัน โดยดูได้จากตารางข้างล่างนี้

รูปภาพ 

 Credit: Lugia (บอร์ดเก่า ecofanclub)

2 ความคิดเห็น: